วันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2562

บทที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับความรู้

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง



ความหมายของความรู้ จากนักวิชาการ

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Ikujiro Nonaka (อิคูจิโร โนนากะ)
Ikujiro Nonaka
Ikujiro Nonaka (อิคูจิโร โนนากะ)  ได้ให้คำจำกัดความของความรู้หมายถึง สารสนเทศที่ผ่านกระบวนการคิด เปรียบเทียบ เชื่อมโยงกับความรู้อื่นจนเกิดเป็นความเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ในการสรุปและตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆได้โดยไม่จำกัดช่วงเวลา หรือกล่าวได้ว่าเป็นสารสนเทศที่ก่อให้เกิดประโยชน์ในการนำไปใช้งาน


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Hideo Yamazaki
Ikujiro Nonaka
Hideo Yamazaki (สำนักงาน ก...และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ,2548; 8) ให้ความหมายของความรู้ เป็นสารสนเทศที่ผ่านกระบวนการคิดเปรียบเทียบ เชื่อมโยงกับความรู้อื่น จนเกิดเป็นความเข้าใจและนำไปใช้ประโยชน์ในการสรุปและตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ โดยไม่จำกัดช่วงเวลา


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปของDavenport and Prusak
Davenport
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Laurence Prusak
Prusak
Davenport and Prusak ดาเวนพอร์ตและพรูเซค (1998 ) กล่าวว่า ความรู้ หมายถึง ส่วนผสมของกรอบประสบการณ์ คุณค่า สารสนเทศ ที่เป็นสภาพแวดล้อม และกรอบการทำงานสำหรับการประเมินและรวมกันของประสบการณ์ และสารสนเทศใหม่


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Peter Senge
Peter Senge
Peter Senge (1994) ได้ให้ความหมายพื้นฐานขององค์การแห่งการเรียนรู้ คือ องค์การซึ่งเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างอนาคตอย่างต่อเนื่อง  สำหรับองค์การเช่นนี้ไม่ใช่เพียงแค่ “อยู่รอด” การเรียนรู้เพื่อความอยู่รอดเป็นสิ่งสำคัญ และโดยแท้จริงแล้วมีความจำเป็น  แต่สำหรับองค์การแห่งการเรียนรู้นั้น  การเรียนรู้เพื่อความอยู่รอดจะต้องเชื่อมโยงกับการเรียนรู้เพื่อเพิ่มพูนความสามารถของเราในการสร้างสรรค์  หัวใจขององค์การแห่งการเรียนรู้ คือ การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ (A Shift of Mind)


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Peter Drucker
Peter Drucker
Peter Drucker เป็นนักคิดที่บุกเบิกแนวคิดด้านการบริหารจัดการขององค์กรธุรกิจสมัยใหม่ แต่ดรักเกอร์มีแนวคิดเรื่องการบริหารจัดการองค์กรที่แตกต่างอย่างมาก จากนักคิดด้านการบริหารรุ่นใหม่ๆ ที่การนำเสนอแนวคิดการบริหารธุรกิจ จะมีหลักวิชาการรองรับและมีวิธีคิดที่เป็นระบบแบบแผน แต่แนวคิดที่เป็นจุดเด่นของดรักเกอร์คือความพยายามที่จะเข้าใจความซับซ้อนต่างๆ ของสังคม และพยายามถอดสรุปสิ่งที่เข้าใจออกมาเป็นแนวคิดที่ได้มาจากประสบการณ์ด้านการปฏิบัติ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประเวศ วะสี
ประเวศ วะสี
ประเวศ วะสี( 2537 : 10 - 17 ) ท่านได้เสนอแนวคิดว่าความรู้ที่จำเป็นมี 4 ประเภทใหญ่ ๆ เรียกว่าปัญญา 4 หรือ จตุรปัญญา คือ ความรู้ธรรมชาติที่ เป็นวัตถุ ( วิทยาศาสตร์กายภาพ ) ความรู้ทางสังคม ( วิทยาศาสตร์สังคม ) ความรู้ทางศาสนา ( วิทยาศาสตร์ข้างใน ) และความรู้เรื่องการจัดการซึ่งปัญญาที่เกิดจากความรู้ชนิดใดชนิดหนึ่งไม่เป็นการเพียงพอที่จะ ทำให้เกิดดุลยภาพในสังคมเราจำเป็นต้องมีปัญญาอย่างบูราณาการ การศึกษาและการวิจัยจำเป็นต้องคำนึงถึงปัญหาทุกด้านมิใช่ให้เรียนรู้เป็นส่วน ๆ เพราะความรู้แบบแยกส่วนจะนำไปสู่การกระทำแบบแยกส่วนทำให้เกิดการเสียดุลยภาพและเกิดวิกฤติการณ์ขึ้น การศึกษาเรียนรู้จำเป็นต้องให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบเชื่อมโยง


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
.นพ.วิจารณ์ พานิช (2546,.2-5) กล่าวว่า การจัดการความรู้หมายถึง การยกระดับความรู้ขององค์กร เพื่อสร้างผลประโยชน์จากต้นทุนทางปัญญา โดยนับเป็นกิจกรรมที่ซับซ้อนและกว้างขวาง ไม่สามารถให้นิยามด้วยถ้อยคำสั้นๆได้


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประพนธ์ ผาสุขยืด
ประพนธ์ ผาสุกยืด
ประพนธ์ ผาสุกยืด (2544) กล่าวว่า การเรียนรู้เป็นเรื่องของการ "รู้จริง" ซึ่งน่าจะเป็นเป้าหมายที่แท้จริงของการศึกษา เพราะการเรียนรู้ระดับนี้จะเน้นที่ความเข้าใจเป็นหลัก ไม่ใช่สักแต่ท่องจำ เป็นการเรียนรู้ที่ต้องอาศัยข้อมูล อาศัยการวิเคราะห์ เพื่อทำความเข้าใจในเรื่องเหตุเรื่องผล เป็นการศึกษาที่อิงการปฏิบัติจริง ทั้งนี้เพื่อจะได้เกิดความกระจ่างชัดในเรื่องต่างๆ เป็นการเรียนรู้อันเกิดจากการกระทำที่เรียกว่า “Learning by doing” เป็นการเรียนรู้ที่ได้มาจากประสบการณ์จริง เป็นการศึกษาที่ได้มาจากการสังเคราะห์สถานการณ์ ทำให้เกิดความเข้าใจในบริบท จนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม


สรุปความรู้คือ ผลที่ได้จากการเรียนรู้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนเกิดความเข้าใจในสิ่งนั้นและสามารถระลึกได้เมื่อต้องการใช้ความรู้นั้น ความรู้ช่วยเพิ่มขีดความสามารถของบุคคลโดยเฉพาะการแสวงหาความรู้โดยการอ่านและการคิด ซึ่งในความคิดของผู้นั้นคิดว่า นิยามของคำว่า ความรู้ นั้นเป็นสิ่งที่ยากที่จะกำหนดขอบเขตของความหมาย แต่ถ้าเราเริ่มจากคำว่า "ข้อมูล" หรือ "ข้อเท็จจริง" สิ่งที่ได้คือความจริงต่าง ๆ ที่ปรากฏเกิดขึ้น การดำเนินการต่าง ๆ ทำให้เกิดข้อมูล เช่น เมื่อเรามีการซื้อขายสินค้า ก็มีการจดบันทึกหลักฐาน เช่น การออกใบเสร็จ ใบสั่งของ เอกสารกำกับ เป็นรายการแสดงการดำเนินการ สิ่งเหล่านี้เรียกว่าข้อมูล ข้อมูลจึงเป็นเรื่องของข้อเท็จจริงที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์

วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2562

บทที่ 2 แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการความรู้

แนวคิดการจัดการความรู้ (Knowledge Management)




ความหมายของการจัดการความรู้

          การจัดการความรู้ เป็นกระบวนการที่ช่วยรวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์และกำหนดประเด็น รวมไปถึง การเผยแพร่องค์ความรู้ที่มีประโยชน์และมีความจำเป็นต่อการพัฒนาและความเจริญก้าวหน้าขององค์กร

จุดมุ่งหมายของการจัดการความรู้

          เป้าหมายหลักของการจัดการความรู้ คือ การใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ที่ได้มีการรวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์และกำหนดประเด็น รวมไปถึงการเผยแพร่องค์ความรู้ เพื่อ

ประสิทธิภาพและความเจริญก้าวหน้าขององค์กร โดยผ่านการสนับสนุนจากเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ เพื่อใช้เก็บรวบรวมและเผยแพร่ วัตถุประสงค์โดยทั่วไปของการจัดการความรู้ มีดังต่อไปนี้

          1. เพื่อให้องค์กรตระหนักและเห็นความสำคัญของความรู้ที่มีอยู่ในตัวของแต่ละบุคคล และในองค์กร โดยนำความรู้นั้นมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพ

สูงสุด ทั้งในแง่ของการทำงานและวิถีการดำเนินชีวิต

          2. มีการนำเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ เช่น การเผยแพร่องค์ความรู้ผ่านเว็บไซต์ของ

หน่วยงาน การนำระบบอินทราเน็ตมาใช้ในการติดต่อ และเปลี่ยนองค์ความรู้ภายในและระหว่างหน่วยงาน

          3. เพื่อสร้างและพัฒนา ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานภายในองค์กร โดยการนำองค์ความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น ระบบการดูแลช่วย

เหลือผู้เรียนในสถานศึกษา ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน เป็นต้น

           ความรู้สามารถแบ่งออกได้สองประเภท คือ ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) และความรู้แฝงเร้น หรือความรู้แบบฝังลึก (Tacit Knowledge) ความรู้ชัดแจ้งเป็น

ความรู้ที่ถูกบรรยายออกมาเป็นตัวอักษร เช่น คู่มือปฏิบัติงาน หนังสือ วารสาร เป็นต้น ส่วนความรู้แฝงเร้นเป็นความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวบุคคล ส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็นความรู้ที่แฝงเร้นอาจอยู่ในในบุคคลที่ทำงานในองค์กรหรือแผนกต่าง ๆ ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในแต่ละด้าน จึงต้องอาศัยกลไกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งก็คือ การจัดการความรู้

          1. ความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่จัดการรวบรวมได้ง่าย มีการจัดระบบและถ่ายโอนโดยใช้วิธีการทางดิจิทัล มีลักษณะเป็นวัตถุดิบ (Objective)

เป็นแนวคิดและทฤษฏี สามารถแปลงเป็นรหัสในการถ่ายทอดโดยวิธีการที่เป็นทางการ เช่น นโยบายขององค์กร แนวคิดวิธีการในการทำงาน เป็นต้น

          2.ความรู้แบบฝังลึก (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ไม่สามารถอธิบายโดยใช้เป็นคำพูดได้ เป็นความรู้ที่มีรากฐานมาจากการกระทำและประสบการณ์ในวิถีการ

ดำรงชีวิต อาจมีลักษณะเป็นความเชื่อ ทักษะ เช่น ทักษะในการประกอบอาชีพ ทักษะในการจักรสาน เป็นต้น ความรู้แบบฝักลึกต้องการการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญ

มีลักษณะเป็นเรื่องเฉพาะส่วนบุคคล เช่น วัฒนธรรมองค์กร ทักษะ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในเรื่องต่างๆ เป็นต้น

ระดับความรู้

          ระดับที่ 1 : Know-what (รู้ว่า คืออะไร) เป็นความรู้ในเชิงการรับรู้

          ระดับที่ 2 : Know- how (รู้วิธีการ) เป็นความสามารถในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติ

          ระดับที่ 3 : Know – why (รู้เหตุผล) เป็นความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ในเชิงเหตุผลที่ซับซ้อน ซึ่งอยู่ภายใต้เหตุการณ์และ    สถานการณ์ต่าง ๆ ความรู้ในระดับนี้สามารถพัฒนาได้บนพื้นฐานของประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหา

          ระดับที่ 4 : Care-why (ใส่ใจกับเหตุผล) เป็นความรู้ในลักษณะการสร้างสรรค์ที่มาจากตัวเอง บุคคลที่มีความรู้ในระดับนี้จะมี เจตจำนง แรงจูงในและการปรับตัวเพื่อความสำเร็จ

แนวคิดการจัดการความรู้แบบ Tuna Model

          ตัวแบบทูน่า (Tuna Model) เป็นกรอบแนวคิดอย่างง่ายมีลักษณะที่ไม่สลับซับซ้อนมากนัก มีความเหมาะสมในการใช้เป็นแนวทางเพื่อดำเนินการในการจัดการความรู้

โดยให้การจัดการความรู้เปรียบเสมือนปลา ซึ่งประกอบไปด้วยส่วนหัว ส่วนลำตัว และส่วนหาง แต่ละส่วนมีหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไปดังต่อไปนี้

          1. ส่วนหัวและตา (Knowledge Vision – KV) มองว่ากำลังจะไปทางไหน ซึ่งต้องตอบให้ได้ว่า “ทำ KM ไปเพื่ออะไร”

          2. ส่วนกลางลำตัว (Knoledge Sharing – KS) ส่วนที่เป็นหัวใจได้ให้ความความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ช่วยเหลือ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน

          3. ส่วนหาง (Knowledge Assets – KA) คือ สร้างคลังความรู้ เชื่อโยงเครือข่าย ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ “สะบัดหาง” สร้างพลังจากชุมชนแนวปฏิบัติ

     การจัดการความรู้ เป็นเครื่องมือในการเก็บสร้าง เก็บรวบรวม วิเคราะห์และสังเคราะห์ รวมถึงเผยแพร่องค์ความรู้ เพื่อประสิทธิภาพและความเจริญก้าวหน้าขององค์กรซึ่งจะส่งผลให้องค์กรสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายที่ได้วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลความรู้นั้นอาจมาจากองค์ความรู้ที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น หนังสือ ตำรา เป็นต้นรวมถึงองค์ความรู้ที่มาจากตัวบุคคล เช่น ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นต้น

สรุปการจัดการความรู้
       การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด จนกระทั่งมาในปัจจุบันได้มีการนำเอาการจัดการความรู้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินความสำเร็จขององค์การ  จึงได้มีการส่งเสริมให้ทำ KM กัน ระบบในการค้นหา สร้าง รวบรวม จัดเก็บ เผยแพร่ ถ่ายทอด แบ่งปัน และใช้ความรู้ วิธีการจัดการความรู้มีการรวบรวมและถ่ายทอดความรู้ของบุคลากร การผสมผสานและหาความสัมพันธ์ของข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ การถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ ระหว่างหน่วยงานกับผู้เรียน ลูกค้ากลุ่มอื่น ผู้ส่งมอบ คู่ความร่วมมือทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการการรวบรวมความรู้และถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์ไปใช้ใน การสร้างนวัตกรรมและในกระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์

แหล่งที่มา
http://quality.sc.mahidol.ac.th/plan_and_policy/km/
https://sites.google.com/site/kmsaengthammnat/kar-cadkar-khwam-ru

โมเดลเซกิ (SECI Model) ของ (Nonaka และ Takeuchi)
     ส่วนความสำคัญของความรู้ถูกเสนอโดย โนนากะ กับ ทาเคอุชิ (Nonaka และ Takeuchi,1995) คือ แผนภาพแสดงความสัมพันธ์การหลอมรวมความรู้ในองค์กรระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) กับความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ใน 4 กระบวน การ เพื่อยกระดับความรู้ให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นวัฎจักร


1. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Socialization) S : Tacit to Tacit 
กระบวนการที่ 1 อธิบายความสัมพันธ์ทางสังคมในการส่งต่อระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) ด้วยกัน เป็นการแบ่งปันประสบการณ์แบบเผชิญหน้าระหว่างผู้รู้ เช่น การประชุม การระดมสมอง ที่มาจากความรู้ การเรียนรู้ และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล เฉพาะเรื่อง เฉพาะพื้นที่ แล้วนำมาแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน ที่มิใช่เป็นเพียงการอ่านหนังสือ คู่มือ หรือตำรา
 2. การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization) E : Tacit to Explicit 
กระบวนการที่ 2 อธิบายความสัมพันธ์กับภายนอกในการส่งต่อระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) กับความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) อาจเป็นการนำเสนอในเวทีวิชาการ หรือบทความตีพิมพ์ เป็นการพัฒนาองค์ความรู้ที่ถูกฝังอยู่ในความรู้ฝังลึกให้สื่อสารออกไปภายนอก อาจเป็นแนวคิด แผนภาพ แผนภูมิ เอกสารที่สนับสนุนให้เกิดการสื่อสารระหว่างผู้เรียนรู้ด้วยกันที่เข้าใจได้ง่าย ซึ่งความรู้ฝังลึกจะถูกพัฒนาให้ตกผลึกและถูกกลั่นกรอง แล้วนำไปสู่การแบ่งปัน เปลี่ยนเป็นฐานความรู้ใหม่ที่ถูกนำไปใช้สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ในกระบวนการใหม่
3. การควบรวมความรู้ (Combination) C : Explicit to Explicit 
กระบวนการที่ 3 อธิบายความสัมพันธ์การรวมกันของความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) ที่ผ่านการจัดระบบ และบูรณาการความรู้ที่ต่างรูปแบบเข้าด้วยกัน เช่น นำความรู้ไปสร้างต้นแบบใหม่ ไปสร้างสรรค์งานใหม่ ได้ความรู้ใหม่ โดยความรู้ชัดแจ้งได้จากการรวบรวมความรู้ภายในหรือภายนอกองค์กร แล้วนำมารวมกัน ปรับปรุง หรือผ่านกระบวนการที่ทำให้เกิดความรู้ใหม่ แล้วความรู้ใหม่จะถูกเผยแพร่แก่สมาชิกในองค์กร
4. การผนึกฝังความรู้ (Internalization) I : Explicit to Tacit 
กระบวนการที่ 4 อธิบายความสัมพันธ์ภายในที่มีการส่งต่อความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) สู่ความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) แล้วมีการนำไปใช้ในระดับบุคคล ครอบคลุมการเรียนรู้และลงมือทำ ซึ่งความรู้ชัดแจ้งถูกเปลี่ยนเป็นความรู้ฝังลึกในระดับบุคคลแล้วกลายเป็นทรัพย์สินขององค์กร

ตัวอย่างโมเดลเซกิ



แหล่งที่มา
http://en.wikipedia.org/wiki/SECI_model_of_knowledge_dimensions 
http://aminaghazadeh.edublogs.org/2010/08/30/nonakas-seci-model/ 
http://www.slideshare.net/atifshaikh4514/introduction-to-knowledge-managemetn 
http://nandita-msn.blogspot.com/2009/02/classification-of-km-models.html 

วันอังคารที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2562

บทที่3 กระบวนการจัดการความรู้

กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process)


           กระบวนการจัดการความรู้ คือองค์ประกอบหลักของกระบวนการจัดการความรู้ ประกอบด้วย การสร้างและถ่ายโอนความรู้ ดังเช่น SECI Model หรือ Knowledge Spiral ดังที่กล่าวมาแล้ว และได้มีการกล่าวถึง ทาเกชิ (Takeuchi)และ นาโนกะ (Nanoka) ซึ่งได้พัฒนาการแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้และการจัดเก็บความรู้ขึ้น อีกท่านหนึ่ง 10 คือ อลัน ฟรอสท์(Alan Frost. 2010) ได้กำหนดขั้นตอนกรอบการจัดการความรู้ประกอบด้วย การระบุความต้องการ การกำหนดแหล่งความรู้ การแสวงหาและสร้างความรู้ การดึงความรู้มาใช้และแบ่งปัน และการจัดเก็บความรู้


           กระบวนการจัดการความรู้ เป็นกระบวนการแบบหนึ่งที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ ภายในองค์กร ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้1. การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification) เป็นการระบุเกี่ยวกับความรู้ที่องค์กรจำเป็นต้องมีต้องใช้ เพื่อให้บรรลุ เป้าหมายตามวิสัยทัศน์ พันธกิจขององค์กร ได้แก่ความรู้อะไรบ้าง ความรู้อะไรที่มีอยู่แล้ว อยู่ในรูปแบบใด อยู่ที่ใคร2. การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition) เป็นการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษา ความรู้เดิม แยกความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้วออกไป มีหลายแนวทาง เช่น ใช้ SECI model นำบุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์ต่างกันมาประชุมทำงานร่วมกัน จ้างคนที่มีความรู้มาทำงานในองค์กร จ้างที่ปรึกษา3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization)  เป็นการวางโครงสร้างความรู้ แบ่งชนิด ประเภท เช่น กฎ ระเบียบ ขั้นตอนการทำงาน ฯลฯ กำหนดวิธีการจัดเก็บและค้นคืน เพื่อให้สืบค้น เรียกคืน และนำไปใช้ได้สะดวก4) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement)  เป็นการกลั่นกรองความถูกต้อง ครบถ้วน ทันสมัย ใช้ งานได้ของความรู้ ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุง เนื้อหาให้สมบูรณ์5. การเข้าถึงความรู้ (Knowlegde Access)  เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้นั้นเข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) Web board บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing)  เป็นการนำความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติงานมาแลกเปลี่ยนเคล็ด ลับ เทคนิคการทำงาน เทคนิคการแก้ปัญหา หรือปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติงาน สำหรับความรู้ ที่ชัดแจ้ง Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็น เอกสาร ฐานความรู้เทคโนโลยีสารสนเทศ ส่วนความรู้ที่ฝังในตัวคน Tacit Knowledge อาจจัดทำเป็นระบบทีมข้ามสายงาน กิจกรรม กลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม ชุมชนนักปฏิบัติ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน การยืมตัว (ผู้เชี่ยวชาญจากที่หนึ่งไปปฏิบัติงานในอีกที่หนึ่ง) เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น7. การเรียนรู้ (Learning) เป็นการนำความรู้ที่ได้จากการแบ่งปันแลกเปลี่ยนหรือสืบค้นไปใช้ประโยชน์ในการ ทำงาน แล้วเกิดความรู้ใหม่ นำมาเข้าระบบจัดเก็บหรือแบ่งปันแลกเปลี่ยน ก็จะได้องค์ความรู้ ใหม่ให้ใช้ประโยชน์ต่อไปได้เรื่อยๆ ควรทำห้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่น เกิดระบบการเรียนรู้จากวงจร “สร้างองค์ความรู้>นำความรู้ไปใช้>เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ ใหม่” และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง


องค์ประกอบสำคัญของการจัดการความรู้ (Knowledge Process)



1. คน ถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดเพราะเป็นแหล่งความรู้ และเป็นผู้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์
2.เทคโนโลยี  เป็นเครื่องมือเพื่อให้คนสามารถค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน รวมทั้งนำความรู้ไปใช้อย่างง่าย และรวดเร็วขึ้น
3.กระบวนการความรู้ นั้น เป็นการบริหารจัดการ เพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้ไปให้ผู้ใช้ เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุง และนวัตกรรม

แนวคิดการจัดการความรู้ของโรงพยาบาลศิริราช


           คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลเข้าร่วมเป็น 1 ใน 4 หน่วยงานน าร่องในโครงการ “การจัดการความรู้ในองค์กร” ของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ระยะเวลาดำเนินงาน กุมภาพันธ์ 2546 – สิงหาคม 2547ด้วยเหตุผลสำคัญคือ ต้องการเรียนรู้วิธีการจัดการความรู้ เพื่อนำไปพัฒนาการจัดการความรู้ในองค์กรให้เหมาะสมกับการบริหารจัดการและวัฒนธรรมองค์กรของคณะฯ สามารถใช้ความรู้ในองค์กรของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนนำมาใช้เป็นประโยชน์ในการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและพัฒนาองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศ หลังจากสิ้นสุดโครงการนำร่อง คณะฯ ก็ได้ดำเนินการจัดการความรู้ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ในฐานะเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาคณะฯ ไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ มุ่งความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน

การจัดการความรู้ตามโครงการ “การจัดการความรู้ในองค์กร” ของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ประกอบด้วย
1. การจัดการการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรม วิเคราะห์วัฒนธรรมองค์กรเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมการจัดการความรู้ วางแผนและจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องให้การสนับสนุน
2. การสื่อสาร ทำการสื่อสารเกี่ยวกับการจัดการความรู้ในองค์กร เช่น ความสำคัญ ประโยชน์ต่อองค์กรต่อบุคลากร การมีส่วนร่วม โดยกระทำอย่างทั่วถึง ต่อเนื่อง ผ่านช่องทางหลากหลาย เช่น สารศิริราชเสียงตามสาย บอร์ดประชาสัมพันธ์ การประชุม กิจกรรมประชาสัมพันธ์ KM website, KM CallCenter
3. กระบวนการและเครื่องมือ จัดทำฐานข้อมูล CQI และฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ CQI สร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนความรู้ สร้างชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice – CoP) ปรับระบบสารสนเทศให้เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนความรู้
4. การเรียนรู้ จัดอบรมทักษะพื้นฐานการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ให้ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ เช่น วารสารบอร์ดนิทรรศการ KM website
5. การวัดผล วัดและประเมินการดำเนินงานโดยกำหนดตัวชี้วัดเป็นจำนวนผู้ชม KM website จำนวนผู้เข้าเสวนาใน KM web board จำนวนผู้ขอคำปรึกษาที่ KM Call Center จำนวนข้อมูลการทำ CQIในเว็บไซต์
6. การยกย่องชมเชยและให้รางวัล มีการยกย่องชมเชยและให้รางวัลแก่บุคลากรที่มีการแลกเปลี่ยนความรู้ เข้าร่วมกิจกรรมการจัดการความรู้ เช่น โล่ประกาศเกียรติคุณ เผยแพร่ภาพ ชื่อ ผลงานผ่านสื่อ



ปัจจัยความสำเร็จ


ความสำเร็จในการจัดการความรู้ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมาจากปัจจัยสำคัญๆ ดังนี้
1. ได้รับการสนับสนุน จากผู้นำ/ผู้บริหาร อย่างต่อเนื่อง
2. มีการกำหนดกลยุทธ์ & ผู้รับผิดชอบ ที่ชัดเจน และ มีการบูรณาการของทีม QD, UM, KM, R2R
มุ่งเน้นการพัฒนาคน
3. สร้างความมีส่วนร่วมของทุกระดับ สามารถสร้างคุณค่าแก่ทุกฝ่าย มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ
เชื่อมโยงผู้เชี่ยวชาญ และระบบสนับสนุนที่ครบถ้วน สอดคล้องกับทิศทางขององค์กรและสังคมอย่างสมดุล
4. มีการประเมินผล (ภายใน - ภายนอก) เพื่อพัฒนาต่อเนื่อง และต่อยอดสู่ความเป็นเลิศ
5. ใช้Siriraj KM strategy (Link – Share – Learn) & Siriraj culture ขับเคลื่อน
6. ที่สำคัญคือ ชาวศิริราชมีความมุ่งมั่นในการทำดีเพื่อส่วนรวม

บทสรุป


จุดมุ่งหมายการใช้กระบวนการจัดการความรู้ : ใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาคณะฯ ไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ มุ่งความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน
แนวคิด/โมเดลที่นำมาใช้ : เริ่มต้นใช้โมเดลการจัดการความรู้ของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ /ก.พ.ร และพัฒนาเป็น Siriraj Model เน้น Link-Share - Learn
แนวทาง/ขอบเขตการดำเนินการ : มีคณะกรรมการจัดการความรู้ภายใต้การก ากับดูแลของรองคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ ดำเนินการเป็น4 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 สร้างโครงสร้างและทีม (พ.ศ. 2548-2549) ระยะที่ 2 พัฒนาระบบสำคัญ เสริมพลังขับเคลื่อนด้วย KMA (Knowledge Management Assessment) (พ.ศ. 2550-2551) ระยะที่ 3 เชื่อมเครือข่าย สร้างนวัตกรรม (พ.ศ. 2552-2554) ระยะที่ 4 สร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย วัฒนธรรมคุณภาพ และการเรียนรู้ (พ.ศ. 2555-2558)
วิธีการและเครื่องมือที่นำมาใช้ : การจัดการความรู้ควบคู่กับการบริหารการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย1) กำหนดทิศทาง 2) สื่อสารเสริมทักษะ 3) บริหารจัดการด้วย Link-Share –Learn (ได้แก่ ชุมชนนักปฏิบัติ Story telling กิจกรรมทบทวนคุณภาพ เช่น management review, AAR, BAR การถอดบทเรียนจัดทำเป็นเอกสาร คู่มือปฏิบัติ) 4) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดเก็บคลังความรู้ 5) การประเมินผล และ 6) ยกย่องเชิดชู
ผลลัพธ์ : ทำให้เกิดบรรยากาศการทำงานเป็นทีม เกิดเครือข่ายภายใน มีความพึงพอใจในการทำงาน เกิดความผูกพันกับองค์กร รู้สึกว่ามีคุณค่า มีความภาคภูมิใจ มีการพัฒนาระบบงานที่บูรณาการและสร้างนวัตกรรมงานวิจัย ยกระดับความรู้ของบุคลากร หน่วยงาน มีคลังความรู้ขององค์กร ยกระดับความรู้ขององค์กร เผยแพร่ความรู้สู่สังคม ทำให้องค์กรเป็นที่ยอมรับขององค์กรภายนอกได้รับรางวัลมากมาย

แนวคิดการจัดการความรู้ของบริษัท สแปนชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด


           บริษัท สแปนชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด (ชื่อเดิม คือ บริษัท เอเอ็มดี (ไทยแลนด์) จำกัด เมื่อได้รวมสายการผลิตกับฟูจิตสึ จึงเปลี่ยนมาเป็น “สแปนชั่น”) เป็นผู้ผลิตแผงวงจรไฟฟ้า (IC) ที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ KM ในสแปนชั่น จะมุ่งเน้นที่การจัดการความรู้ที่เป็นความรู้หลักสำคัญขององค์กร ในเชิงวิศวกรรมและเทคนิคเฉพาะด้าน โดยวางเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ คือ เพื่อการพัฒนาการจัดการความรู้และแบ่งปันความรู้ที่เป็นระบบ กิจกรรมที่อยู่ในโครงการนำร่อง คือ
  1. โครงการเพื่อพัฒนาผลิตภาพอย่างต่อเนื่อง
  2. การนำเสนองานและโครงการด้านวิศวกรรม
  3. การนำเสนองานในฝ่ายสนับสนุน
  4.  เอกสารประกอบการอบรม
  5.  สิทธิบัตร
  6. สิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการ
  7. ความรู้จากบริษัทคู่ค้า
รูปแบบที่ใช้ในการเปลี่ยนแนวความคิดไปสู่ภาคปฏิบัติประยุกต์มาจากรูปแบบของ Robert Osterhoff (Xerox Model) ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการหลัก คือ
1. การปรับเปลี่ยน (Transition) มีการจัดตั้ง “คณะทำงาน การจัดการความรู้ (KM Team)” โดยผู้บริหารมีส่วนร่วมในกิจกรรมและให้ความสำคัญกับการจัดการความรู้ มีการประชุมและติดตามความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง
2.การปรับพฤติกรรม (Behavior Management) โดยการประเมินพฤติกรรมของพนักงานในส่วนต่างๆ คณะทำงานจะตั้งคำถามเพื่อใช้ในการวางแผนและออกแบบระบบ เช่น พนักงานจะเข้าถึงความรู้ที่แฝงอยู่ทั้งภายในและภายนอกองค์กรได้อย่างไร พนักงานจะได้ความรู้อะไรใหม่ๆ เพิ่มขึ้นบ้าง เป็นต้น
3.การสื่อสาร (Communication) โดยผ่านช่องทางที่มีอยู่ในบริษัท คือ นิตยสาร การประชุม วิทยุกระจายเสียง และ e-mailสแปนชั่น ยังมีคำขวัญและสัญลักษณ์ของการจัดการความรู้ “แบ่งปันความรู้ นำไปสู่ความสร้างสรรค์”
4.process and tools บริษัทพัฒนาโปรแกรม Knowledge Portal มาใช้ในการรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ ประสบการณ์และความรู้ในการทำงานต่างๆ เครื่องมือนี้จัดทำขึ้นโดยอยู่บนเว๊บ เพื่อให้การแลกเปลี่ยนความรู้ที่เป็นเอกสาร อิเล็กทรอนิกส์ การจัดเก็บ จัดกลุ่ม และแลกเปลี่ยนความรู้บนเว๊บบอร์ดเกิดขึ้นโดยสะดวกและมีประสิทธิภาพ
5.learning บริษัทมีโปรมแกรมในการพัฒนาบุคลากรและเสริมสร้างให้เกิดการเรียนรู้ พนักงานทุกคนจะมี training roadmap และยังมีการสนับสนุนให้พนักงานทุกคนมีการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยมีห้องโสตทัศนูปกรณ์ ห้องฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ และทุนการศึกษาให้กับพนักงานแต่ละระดับ
6.measurements จะมีการวัดผลการแลกเปลี่ยนความรู้กันใน 3 ระดับ คือ การวัดด้านระบบ เพื่อวัดประสิทธิภาพของโปรแกรม Knowledge Portal และพฤติกรรมขององค์กร การวัดผลลัพธ์ของระบบ เพื่อวัดสมรรถภาพด้านเทคนิคของพนักงานในบริษัท และการวัดผลลัพธ์สุดท้ายของระบบ เพื่อการวัดผลการดำเนินงานของบริษัท
7.system performance เป็นการติดตามการลงทะเบียนความรู้ การเข้าไปและแลกเปลี่ยนความรู้ใน Knowledge Portal โดยวัดจากสถิติการเข้าชม จำนวนผู้เข้าชม จำนวนความเห็นบนเว๊บบอร์ด เป็นต้น
8.recognition and reward การให้รางวัลและยกย่องเป็นส่วนที่กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้

           จากการดำเนินกิจกรรมด้าน KM ของ บริษัท สแปนชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด จะเห็นได้ว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จ คือ การได้รับความร่วมมือจากพนักงานและผู้บริหาร หากขาดการสนับสนุนจากผู้บริหารแล้วก็ยากที่กิจกรรมจะประสบความสำเร็จได้ เมื่อผู้บริหารให้ความสำคัญก็จะเป็นแบบอย่างให้กับพนักงาน และระบบ IT ที่มีประสิทธิภาพของบริษัท เป็นเครื่องมือสำคัญอย่างยิ่งในการส่งเสริมให้เกิดการจัดการและแลกเปลี่ยนความรู้ในบริษัท ทั้งการใช้โปรแกรม Knowledge Portal และการใช้ e-mail เพื่อการติดต่อสื่อสาร

แนวคิดการจัดการความรู้ของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)



           บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)” เป็นผู้นำในการให้บริการด้านสื่อสารครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ปัจจัยแห่งความสำเร็จอย่างหนึ่งของ ทรู คือ “ ความพึงพอใจของลูกค้า ” การให้บริการที่ดีเลิศต่อลูกค้าจึงมีความจำเป็นและสำคัญมาก ดังนั้น โครงการจัดการความรู้ในส่วนสายงาน Customer Management จึงมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อ ทรู เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้าและพัฒนาการดำเนินงานรวมทั้งศักยภาพการแข่งขันขององค์กรโดยใช้รูปแบบการจัดการความรู้
           การทำ KM ของทรูเริ่มจากความต้องการตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าในช่วงต้น  ประกอบกับบริษัทมีสินค้าและบริการที่หลากหลายมาก ความต้องการที่จะขยับตัวชี้วัดที่ทำให้ลูกค้าพอใจ ด้วยเหตุนี้ เป็นโจทย์ที่ True คาดว่า  KM  จะสามารถช่วยให้คำตอบได้ จึงเกิดเป็น KM ตั้งแต่นั้นมา ในเดือนมกราคม 2544 จึงเกิดระบบ KM นำร่องเพื่อสนับสนุนด้าน Call Center ต่อมาได้เข้าร่วมโครงการ KM กับสถาบันเพิ่มผลผลิต เกิดการพัฒนารูปแบบ KM Organization และจนปัจจุบันได้มีการพัฒนาจนได้ CM web Phase3 เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อการจัดการความรู้ของบริษัท ทรู และเทคโนโลยีบล็อก (Blog หรือ Weblog) จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์สำหรับการสร้าง การแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้ได้แก่
  • ระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (Document and Content Management Systems)
  • ระบบสืบค้นข้อมูลข่าวสาร (Search Engines)
  • ระบบการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning)
  • ระบบประชุมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Meeting Systems and VCD Conference)
  • ระบบการเผยแพร่สื่อผ่านระบบเครือข่าย (e-Broadcasting)
  • KM Website
การดำเนินการตามโครงการสามารถแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้
1. Culture Change ขั้นตอนการปรับเปลี่ยนและการจัดการพฤติกรรม โดยการปรับวิธีคิด ทัศนคติ และพฤติกรรมของคนในองค์กรให้ไปในทิศทางเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคน จำเป็นต้องใช้เวลาในการสร้างความเข้าใจ วัฒนธรรมความร่วมมือในการทำงาน ค้นหาสิ่งจูงใจคนเพื่อนำไปสู่การโน้มน้าวให้ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งต้องมีแผนการจัดการเปลี่ยนแปลงรองรับ
2. Communication ขั้นตอนการสื่อสารทั่วทั้งองค์กร โดยใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้พนักงานสามารถติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนกันได้สะดวก การสื่อสารในทุกระดับ ต้องหาวิธีอธิบายให้คนเข้าใจว่าทำ KM ไปเพื่ออะไร การสร้างกลวิธีในการย้ำเตือน เช่น สร้างภาพลักษณ์บางอย่างให้ติดตรึงใจ และต้องทำอย่างต่อเนื่อง
3. Process and Tool ขั้นตอนการพัฒนากระบวนการและเครื่องมือ มีกระบวนการทำงานที่ชัดเจน และมีเครื่องมือที่ทันสมัย ต้องทำกระบวนการให้ง่ายและสะดวกใช้มากที่สุด  ไม่ยุ่งยากต่อการทำความเข้าใจ KMไม่ใช้เทคโนโลยี หรือว่าชุดวิธีการเพียงลำพัง   แต่เป็นการ “ปฏิบัติจริง” ที่ต้องเชื่อมมิติของคน กระบวนการ และเทคโนโลยี ระบบ KM จำเป็นต้องสร้างขึ้นมาให้เหมาะกับการใช้งาน
4. Training/Learning ขั้นตอนการอบรมและการเรียนรู้ ฝึกให้คนสามารถใช้ระบบที่สร้างขึ้นมาและ พัฒนาคนให้มากพอจำนวนหนึ่งและทำแต่เนิ่นๆ เพื่อให้คนเหล่านี้สามารถช่วยเหลือระหว่างกันได้ การแลกเปลี่ยนวิธีการทำงานจะช่วยให้พนักงานได้เกิดการเรียนรู้ระหว่างกันเอง ซึ่งจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ทั้งทางตรง ทางอ้อม ทั้งผู้ให้และผู้รับ และเกิดการไหลเวียนความรู้ขึ้นอีกด้วย
5.Measurements ขั้นตอนการวัดและติดตามประเมินผลความสำเร็จ และความผิดพลาดของโครงการเพื่อพัฒนาโครงการให้ดีขึ้น โลกธุรกิจจำเป็นต้องตอบโจทย์ให้ได้ว่า เกิดความคุ้มค่าทางการลงทุน เกิดประสิทธิผล ระยะเวลาตอบคำถามให้แก่ลูกค้าลดลง สามารถให้คำตอบครั้งเดียวโดยไม่ต้องโอนสายต่อ   เกิดนวัตกรรมทางการให้บริการ ลูกค้าสามารถแก้ไขปัญหาได้เองมากขึ้น
6.Recognition and Rewards ขั้นตอนการสร้างแรงจูงใจ การให้เกียรติและการให้รางวัล จะช่วยเสริมแรงให้คนสร้างความรู้ใหม่ วิธีการทำงานใหม่ๆ และสร้างวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีม   สร้างระบบการให้รางวัลที่ไม่ใช่เงิน แต่ทำให้เกิดความภูมิใจ เพื่อเป็นการกระตุ้น ผลักดัน และส่งเสริมให้โครงการสำเร็จ
ผลที่ได้จากการทำ KM ทำให้ได้ Central Knowledge Center ซึ่งได้รวบรวมเอกสารนับพันฉบับในระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญในการตอบคำถามลูกค้า พนักงานกว่า 1,500 คนสามารถใช้ข้อมูลเหล่านี้ในเวลาอันรวดเร็ว เอกสารกว่า 50,000 หน้าที่ได้เปิดใช้งาน ได้ระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่ดีสำหรับ Call Center และตัวแทนขาย  จากประสบการณ์ KM ทำให้ได้เรียนรู้สิ่งที่มีคุณค่าต่อการพัฒนากระบวนการทำงานที่จะนำไปสู่เป้าหมายขององค์กร  ถือได้ว่าเป็นความรู้ที่เกิดขึ้นจากการลงมือทำ KM  ด้วย ความมุ่งมั่นอย่างแท้จริง

แหล่งที่มา
http://www.okmd.or.th/upload/pdf/chapter1_kc.pdf
http://www.okmd.or.th/upload/pdf/chapter4_kc.pdf
https://www.gotoknow.org/posts/1467

วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2562

บทที่ 4 องค์กรแห่งการเรียนรู้

องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ องค์กรแห่งการเรียนรู้

          องค์กรแห่งการเรียนรู้ หมายถึง องค์กรที่มีการจัดการความรู้ในการปรับเปลี่ยน และค้นหาวิธีใหม่ๆในการผลิตผลิตภัณฑ์ หรือ บริการ อันจะนำมาซึ่งการเพิ่มประสิทธิผลในการดำเนินงานขององค์กร โดยแบ่งองค์ประกอบของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ออกเป็น 5 ด้าน ดังนี้

  1. การปรับเปลี่ยนองค์กร (Organization Transformation) หมายถึง สถานที่และลักษณะทางกายภาพซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้ ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ วัฒนธรรม กลยุทธ์ และโครงสร้างขององค์กร
  2. การจัดการความรู้ (Knowledge Management) หมายถึง กระบวนการที่เป็นระบบในการสร้าง รวบรวม แลกเปลี่ยน ใช้ความรู้/แนวทางปฏิบัติที่ดีในการทำงานเพื่อการบรรลุเป้าหมายขององค์กร และมีการจัดเก็บเป็นคลังความรู้ขององค์กรต่อไป
  3. เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ (Learning Technology) หมายถึง ระบบการเรียนรู้และสนับสนุนการทำงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 
  4. การให้อำนาจแก่บุคคล (People Empowerment) หมายถึง การให้อำนาจและความรับผิดชอบในการตัดสินใจและการปฏิบัติการแก่บุคลากร
  5. พลวัตการเรียนรู้ (Learning Dynamic) หมายถึง ความหลากหลายของการเรียนรู้ ได้แก่ การเรียนรู้ระดับบุคคล ระดับกลุ่ม และระดับองค์กร การเรียนรู้จากการปรับตัว การคาดการณ์ การเรียนรู้และการปฏิบัติโดยใช้ทักษะการเรียนรู้ เช่น แบบแผนทางความคิด (Mental Model) การมีวิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision) การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (Team Learning) การคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking) และการสนทนาอย่างมีแบบแผน (Dialogue)

วินัย 5 ประการสำหรับองค์การแห่งการเรียนรู้




“Organizations learn only through individual who learns. Individual learning does not guarantee organizational learning, but without it no organizational learning occurs.” Peter Senge (1990)

           Senge (1990) เชื่อว่า หัวใจของการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้อยู่ที่การเสริมสร้างวินัย 5 ประการ ให้เกิดผลจริงจังในรูปของการนำไปปฏิบัติ แก่บุคคล ทีม และองค์การอย่างต่อเนื่องและทุกระดับ โดย Sengeได้ให้คำนิยามของ ”องค์การแห่งการเรียนรู้” ว่า“เป็นองค์การที่ผู้คนต่างขยายขีดความสามารถเพื่อสร้างผลงานที่ต้องการสร้างอนาคต”
           คำว่า “วินัย (Disciplines)” หมายถึง เทคนิควิธีที่ต้องศึกษาใคร่ครวญอยู่เสมอแล้วนำมาปฏิบัติ เป็นแนวทางการพัฒนาเพื่อการแสวงหาการเสริมสร้างทักษะ หรือสมรรถนะ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถผ่านการปฏิบัติ  เพื่อความคิดสร้างสรรค์เพื่อสิ่งใหม่ ๆ วินัย 5 ประการ ประกอบด้วยวินัยประการที่ 1:  ความรอบรู้แห่งตน (Personal Mastery)วินัยประการที่ 2:  แบบแผนความคิดอ่าน (Mental Models) วินัยประการที่ 3:  วิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision)วินัยประการที่ 4:  การเรียนรู้ของทีม (Team Learning)วินัยประการที่ 5:  การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)

วินัยประการที่1 : ความรอบรู้แห่งตน (Personal Mastery)
           การเรียนรู้ขององค์การจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อบุคคลมีการเรียนรู้เท่านั้น การฝึกฝนอบรมตนด้วยการเรียนรู้อยู่เสมอเป็นรากฐานสำคัญ เป็นการขยายขีดความสามารถให้เชี่ยวชาญมากขึ้น ความรอบรู้เป็นผลร่วมของทักษะและความสามารถ เป็นสภาพที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงเห็นว่าอะไรมีความสำคัญต่อเรา ต่อองค์การ ขณะเดียวกันก็เห็นภาพในอนาคต (Vision) ที่พึงเป็นได้

วินัยประการที่ 2 : แบบแผนความคิดอ่าน (Mental Models)
           แผนความคิดอ่าน ได้แก่ ข้อตกลงเบื้องต้น ความเชื่อพื้นฐาน ข้อสรุปหรือภาพลักษณ์ที่ตกผลึกในความคิดอ่านของคนที่มีอิทธิพลต่อความรู้ความเข้าใจต่อสรรพสิ่งในโลก มีผลต่อการประพฤติปฏิบัติ ต่อค่านิยม เจตคติที่เขามีต่อบุคคล  สรรพสิ่งและสถานการณ์ทั้งหลาย  หน้าที่ของวินัยประการที่ 2 ก็เพื่อฝึกฝนให้เราได้เข้าใจ แยกแยะระหว่างสิ่งที่เราเชื่อกับสิ่งที่เราปฏิบัติ การสืบค้นความคิดความเชื่อของเรา ทำให้เราท้าทายและปรับขยายขอบเขตและกระบวนการความคิดความเชื่อของเรา เข้าใจมุมมองและการคิดของผู้อื่น
            Senge เชื่อว่าความคิดความเชื่อแบบแผนความคิดอ่านของแต่ละคนมีข้อบกพร่อง ดังนั้นต้องอาศัยวินัยที่ 5คือการคิดอย่างเป็นระบบ เข้าไปร่วมทำงานด้วยซึ่งจะมีพลังเกิดผลดีสูงสุด ผู้บริหารพึงผสานแบบแผนความคิดอ่านของตนเข้ากับการฝึกทักษะการคิดอย่างเป็นกลยุทธ์อย่างเป็นระบบที่เน้นภาพใหญ่ เน้นความเชื่อมโยงขององค์ประกอบย่อยให้ได้

วินัยประการที่ 3 : วิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision)
           วิสัยทัศน์หรือภาพในอนาคตที่ปรารถนาให้เกิดมีขึ้นในองค์การนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อภาวะผู้นำทุกคน เป็นพลังขับเคลื่อนในภารกิจทุกอย่างขององค์การให้มุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน เป็นจุดร่วมและพลังของการเรียนรู้ของสมาชิกในองค์การ ผู้นำต้องพัฒนาวิสัยทัศน์เฉพาะตน (personal  vision) ขึ้นมาก่อนจากคุณค่าส่วนบุคคล ความห่วงใย ให้ความสำคัญกับสิ่งใด จากการคิดได้ คิดเป็น จากนั้นก็ขายฝัน  คิดดัง ๆ แบ่งปันให้ผู้อื่นได้รู้ เข้าใจ เห็นคล้อยตามด้วยการสื่อสาร โน้มน้าวหรือดังที่เรียกกันว่า “walk the talk”  ทำให้คำพูดหรือภาพนั้นเดินได้ กลายเป็นวิสัยทัศน์ร่วม (shared  vision) ที่มีการแบ่งปันกับผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกระดับขององค์การ โน้มน้าวให้เกิดการปฏิบัติร่วมกันไปในทิศทางที่ทำให้ภาพวิสัยทัศน์นั้นเป็นจริงขึ้นมา  (turn vision into action) ในลักษณะของปฏิบัติการในเชิงรุก (proaction) มิใช่รอหรือตามแก้ไข  (reaction)
           Senge เห็นว่า การสร้างวิสัยทัศน์ร่วมนี้เป็นการสร้างความคิดที่ใช้ปกครอง (governing ideas) ชี้นำองค์การว่าองค์การคิดอย่างไร มีเป้าหมาย พันธกิจ และยึดถือคุณค่าใด วิสัยทัศน์ที่ดีต้องสอดคล้องกับคุณค่าหรือค่านิยมที่ผู้คนยึดถือ ในการดำรงชีวิตประจำวัน มิเช่นนั้นแล้ววิสัยทัศน์นั้นจะเป็นแค่กระดาษหรือข้อความที่ไร้พลังขับเคลื่อน ความคิดที่ใช้ปกครองนี้มุ่งตอบคำถามหลัก 3 ประการที่สะท้อนให้เห็นว่าเราเชื่อมั่นในสิ่งใด กล่าวคือ

           อะไร       -  ภาพในอนาคตที่ต้องการให้เกิดคืออะไร
           ทำไม      -  ทำไปทำไม  ด้วยเป้าหมายหรือพันธกิจใด  มีส่วนช่วยเหลือสังคมเช่นไร
           อย่างไร  -  เราจะปฏิบัติตนเช่นไรให้วิสัยทัศน์และพันธกิจนั้นเป็นจริง ด้วยความซื่อสัตย์ จริงใจ เสียสละ อดทน เป็นต้น

วินัยประการที่ 4 : การเรียนรู้ของทีม (Team Learning)
           เราจะทำอย่างไรให้ระดับความสามารถของทีมเหนือกว่าระดับความสามารถของรายบุคคลในทีม  ทีมสามารถพัฒนาขีดความสามารถประสานสัมพันธ์กันได้เป็นอย่างดี แนววิธีฝึกฝนสร้างการเรียนรู้ของทีมที่ดีและคุ้มค่านั้น Senge เห็นว่า ทำได้โดยผ่านการพูดคุย (dialogue) และการอภิปราย (discussion)  ของผู้คนในองค์การ ทีมในองค์การที่ขาดการปรับทิศทางทำความเข้าใจระหว่างกันก่อนจะมีพลังงานที่สูญเสียมากมาย  ขาดทิศทางร่วมกัน ขาดการประสานสัมพันธ์ที่ดี ดังนั้น Senge จึงให้ความสำคัญของการปรับแนวปฏิบัติให้ตรงกัน (alignment) ว่าเป็นเงื่อนไขสำคัญก่อนที่จะมีการเพิ่มอำนาจในการปฏิบัติ (empowerment) ให้แก่บุคคล หรือทีม ในการตัดสินใจหรือการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ
           Senge เห็นว่า การเรียนรู้เป็นทีมมี 3 ลักษณะสำคัญ ได้แก่1.สมาชิกทีมต้องมีความสามารถในการคิด ตีปัญหา หรือประเด็นพิจารณาให้แตก หลายหัวร่วมกันคิด ย่อมดีกว่าการให้บุคคลคนเดียวคิด2.ภายในทีมต้องมีการทำงานที่สอดประสานกันเป็นอย่างดี  คิดในสิ่งที่ใหม่และแตกต่าง  มีความไว้วางใจต่อกัน3.บทบาทของสมาชิกทีมหนึ่งที่มีต่อทีมอื่นๆ ขณะที่ทีมหนึ่งสมาชิกเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การประพฤติปฏิบัติของทีมนั้นยังส่งผลต่อทีมอื่นๆด้วย ซึ่งจะช่วยการสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ให้มีพลังมากขึ้น

วินัยประการที่  5 : การคิดอย่างเป็นระบบ (Systemmatic  Thinking)
           เป็นวินัยที่มีความสำคัญมากที่สุด ที่ในความเป็นจริง ผู้คน บุคลากร ผู้บริหารหลายคนไม่สามารถฝึกฝนตนเองให้มีความสามารถคิดได้อย่างเป็นระบบอย่างเท่าทันการณ์ หรือคิดได้ล่วงหน้า ผลก็คือทำให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติงานในการบริหารมากมาย บ้างคิดว่าที่ตนปฏิบัติงานทุกวันเป็นการแก้ไขปัญหาและพัฒนางาน เนื่องจากการคิดสั้น ผันตามเหตุการณ์หรือสถานการณ์ ทำให้ขาดการเห็นภาพใหญ่ ไม่ต่อเนื่อง ไม่เห็นความเชื่อมโยงของส่วนต่างๆ ที่จะได้รับผลกระทบติดตามมาจากการปฏิบัติงานของเขา ทั้งที่แท้จริงแล้วการปฏิบัติงานของเขาเป็นการสั่งสมปัญหาให้คนต่อๆ มาต้องแก้ไข ซึ่งจำต้องใช้ความสามารถที่มากกว่าเดิมหลายเท่าตัวที่เดียว
           คำว่า “ระบบ”  คือส่วนย่อยที่เกี่ยวเนื่องกันในส่วนใหญ่  สะท้อนให้เห็นการขึ้นแก่กันของส่วนย่อย ๆ ผลบวกของแต่ละส่วนจะมีพลังน้อยกว่าร่วมแรงร่วมใจหรือการผนึกกำลังของส่วนย่อยอย่างพร้อมเพรียงกัน การทำงานของงานหนึ่ง ย่อมจะมีผลกระทบต่อส่วนย่อยต่างๆ ที่เหลือในระบบ ส่งผลต่อความเจริญรุ่งเรือง ความล่มสลาย กำไร-ขาดทุน และภาพลักษณ์ขององค์การ ในมิติของสถานการณ์และเวลาต่างๆ กันนั้น

แหล่งที่มา
http://www1.si.mahidol.ac.th/km/node/2282
https://www.gotoknow.org/posts/64191

วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2562

บทที่ 5 วัฏจักรการพัฒนาระบบการจัดการความรู้

(Knowledge Management Systems Life Cycle)

เปรียบเทียบระหว่าง  CLSC และ KMSLC




Conventional System Life Cycle วงจรชีวิตการพัฒนาระบบแบบดั้งเดิม
          1.Recognition of Need and Feasibility Study การกำหนดความต้องการของระบบ
          2.Functional Requirements Specifications กำหนดคุณสมบัติความต้องการ การทำงานของระบบ
          3.Logical Design (master design plan) การออกแบบเชิงตรรกะของระบบทั้งหมด(ในกระดาษ)
          4.Physical Design (coding) การออกแบบเชิงกายภาพ(การสร้างระบบขึ้นมาเอง)
          5.Testing การทดสอบระบบ
          6.Implementation (file conversion, user training) การนำระบบไปใช้งาน
          7.Operations and Maintenance การดำเนินงานและบำรุงรักษา

KM System Life Cycle วงจรการพัฒนาระบบการจัดการความรู้
          1.Evaluate Existing Infrastructure การประเมินโครงสร้างพื้นฐานของระบบที่มีอยู่
          2.Form the KM Team  การจัดตั้งทีมงานจัดการความรู้
          3.Knowledge Capture การรวบรวมความรู้มาเก็บไว้เพื่อที่จะเอาข้อมูลความรู้เหล่านี้เข้าสู่ระบบ
          4.Design KMS Blueprint  การออกแบบพิมพ์เขียวของการจัดการความรู้
          5.Verify and validate the KM System การสร้างระบบขึ้นมา แล้วตรวจสอบว่าระบบมีความเหมาะสมหรือไม่  
           Verify  แปลว่า ระบบทำงานได้เหมาะสมกับผู้ใช้หรือไม่
            Validate แปลว่า การตรวจสอบว่าระบบทำงานได้ถูกต้องหรือป่าว เช่น ให้คำนวณและได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง
          6.Implement the KM System การเอาระบบ KM ไปใช้
          7.Manage Change and Rewards Structure การจัดการของการเปลี่ยนแปลงและขั้นตอนการของการให้รางวัล
          8.Post-system evaluation  การประเมินผลหลังจากที่เอาระบบไปใช้แล้ว

Key Differences ความแตกต่างที่สำคัญของระบบทั้ง 2 แบบ
          1.นักวิเคราะห์ระบบมีการจัดการกับสารสนเทศจากผู้ใช้ ส่วนนักพัฒนาความรู้จะจัดการความรู้ที่มาจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
          2.ผู้ใช้ รู้ปัญหาแต่ไม่รู้ทางแก้ แต่กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจะรู้ทั้งปัญหาและทางแก้ไข
          3.วงจรการพัฒนาระบบแบบดั้งเดิมSLC โดยทั่วไปจะประกอบด้วยขั้นตอนการเรียงลำดับแต่ถ้า KM SLC การพัฒนาแบบเพิ่มพูลคือการเพิ่มไปทีละส่วนทีละส่วนและมีลักษณะการโต้ตอบ
          4.การทดสอบระบบโดยปกติแล้วจะกระทำในขั้นตอนสุดท้ายของวงจรแต่ถ้าเป็น KM System จะเข้าไปเกี่ยวของการทดสอบตั้งแต่เริ่มต้นของวงจรการพัฒนาระบบ
          5.การพัฒนาระบบแบบดั้งเดิมขับเคลื่นด้วยกระบวนการ หรือ เรียกอีกคำว่า มีการกำหนดความต้องการเสร็จแล้วสร้างมันขึ้นมา แต่  KM System วงจรชีวิตของ KM จะมุ่งเน้นถึงผลลัพธ์ จะต้องได้ระบบแบบนี้ขึ้นมาใช้ มีการเริ่มต้นแบบช้าๆแต่เติบโตไปเรื่อยๆ

Key Similarities ข้อเหมือนกันที่สำคัญของ 2 ระบบ
          1.ทั้ง 2 ระบบเริ่มต้นจากปัญหาและไปจบที่ทางแก้
          2.ทั้งสองระบบเริ่มต้นจากการเก็บรวบรวมสารสนเทศ
          3.การทดสอบมีความสำคัญเหมือนกันเพื่อให้แน่ใจว่าระบบทำงานได้ถูกต้องได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง มันเป็นระบบที่เหมาะสม
          4.ผู้พัฒนาระบบทั้ง 2 แบบมักจำเลือกเครื่องมือที่เหมาะหลายๆเครื่องมือมาใข้การออกแบบระบบที่คาดหวังหรือระบบที่ต้องการ

Knowledge Management Systems Life Cycle



1.Evaluate Existing Infrastructure การประเมินโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่  ได้แก่
          1.มีความรู้อะไรไหมที่มันจะหายไปจากการเกษียณอายุ หรือการเปลี่ยนหน่วยงาน หรือการออกจากที่ทำงานที่เดิมไปอยู่ที่ทำงานใหม่
          2.ระบบ KM ที่นำมาเสนอต้องเอามาใช้ในหลายๆฝ่ายหรือไม่
          3.ผู้เชี่ยวชาญมีอยู่เพียงพอหรือป่าวมีความตั้งใจที่อยากจะช่วยในการสร้างระบบ Km ขึ้นหรือป่าว
          4.ปัญหาต่างๆที่ต้องการคำตอบต้องใช้เวลาหลายปีในการตอบหรือป่าว
2.Form the KM Team การจัดตั้งทีมงานจัดการความรู้
          1.ทีมจะประสบความสำเร็จจะขึ้นอยู่กับความสามารถของคนในทีม
          2.ขนาดของทีม ที่จะประสบความสำเร็จต้องมี 7 คน
          3.ความซับซ้อนของโครงการ
          4.ภาวะผู้นำ สามารถสั่งลูกน้องได้และเป็นแรงจูงใจของทีมว่าทีมมีแรงจูงใจมากน้อยขนาดไหน 
          5.ทีมนั้นจะต้องไม่ไปสัญญาอะไรเกินเลยมากไปกว่าสิ่งที่จริงของระบบที่เราจะส่งมอบ
3.Knowledge Capture การรวบรวมความรู้มาเก็บไว้เพื่อที่จะเอาข้อมูลความรู้เหล่านี้เข้าสู่ระบบ
          1.การดึงความรู้จากสื่อที่หลากหลายหรือแหล่งความรู้ต่างๆ
          2.ต้องดึงความรู้จากผู้เชี่ยวชายองค์กรโดยใช้เครื่องมือที่หลากหลาย
          3.นักพัฒนาระบบจะไปดึงความรู้จากผู้เชี่ยวชาญเพื่อจะนำมาสร้างฐานความรู้
4.Design the KM Blueprint การออกแบบพิมพ์เขียวของการจัดการความรู้
          1.ขอบเขตที่ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับ
          2.มีการตัดสินใจบนองค์ประกอบของความต้องการของระบบ
          3.การพัฒนาระดับชั้นที่สำคัญของสถาปัตยกรรมของระบบ Km
          4.ระบบจะต้องมีความสามารถใช้งานระหว่างโครางสร้างพื้นฐานที่แตกต่างกัน
5.Verify and Validate the KM System การสร้างระบบขึ้นมา แล้วตรวจสอบระบบมีความเหมาะสมหรือไม่
          1.ตรวจสอบความเหมาะสมของระบบเพื่อให้แน่ใจว่าระบบมีฟังค์ชั่นการทำงานที่ถุกต้องเหมาะสม
          2.วิธีการตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าระบบได้ผลลัพธ์การประมวลผลที่ถูกต้อง
          3.ตรวจสอบความผิดพลาดที่ไม่ได้เกิดจากความประมาทเลินเล่อ
6.Implement the KM System การเอาระบบ KM ไปใช้
          1.การนำไปปฏิบัติงานจริงๆในระบบ KM ใหม่และทำได้จริง
          2.การเปลี่ยนข้อมูลให้อยู่ในรูปของข้อมูลหรือไฟล์
          3.การอบรมผู้ใช้งาน
การประกันคุณภาพของระบบ
          1.ความผิดพลาดเชิงเหตุเชิงผล
          2.ตรวจถึงความคุมเครือ
          3.อะไรที่ไม่สมบูรณ์ต้องไปแก้ให้สมบูรณ์
          4.ตรวจความผิดพลาดในลักษณะ false positive  เราตรวจแล้วมันถูกแต่จริงๆแล้วมันผิด มาจากการที่เขียนโปรแกรมผิด false negative เราตรวจแล้วมันให้คำตอบว่าผิดแต่จริงๆแล้วมันถูก
7.Manage Change and Rewards Structure  ชั้นของการนำระบบไปใช้และจัดการเรื่องการให้รางวัล
          1.ต้องการลดแรงต่อต้านจากผู้ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ใช้หรือจากผู้ที่ก่อกวนให้เกิดปัญหา
          2.แรงต้านทานนี้แสดงออกมาจากการโต้ตอบเช่น การกำหนดพาสเวิร์ดที่ไม่ปฏิบัติ (พาสเวิร์ดยุ่งยาก)หรือหลีกเลี่ยง
8.Post-system Evaluation การประเมินผลหลังจากนำระบบไปใช้แล้ว
          1.ประเมินผลกระทบของระบบในแง่ของผลกระทบต่อ บุคคล วิธีการปฏิบัติหรือผลการดำเนินงานของธุรกิจ
          2.ขอบเขตที่เราต้องพิจารณาผลลัพธ์ของการระบบไปใช้ทำให้เราได้ความรู้ในการตัดสินใจได้ดีขึ้น
                    - ต้องใช้การตัดสินใจที่มีคุณภาพทำให้เราแก้ผลกระทบที่เกิดขึ้นได้
                    - ดูจากทัศนคติของผู้ใช้งาน( อาจจะดีหรือไม่ดีก็ได้)
                    - ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากต้นทุน ที่เกิดจากการนำระบบไปใช้และไปประมวลรวมต้นทุนที่เกิดจากการปรับระบบให้ทันสมัยมากขึ้น

สถาปัตยกรรมของระบบ KM



User Interface : จะติดต่อกับ user  จะเห็นระบบเฉพาะส่วน เช่น เว็บเบราว์เซอร์

Authorized access control : การควบคุมสิทธิในการเข้าถึง บางระบบจะต้องผ่านการใส่ password ติดตั้ง Ftrewalls, e.g., security และ authentication

Collaborative intelligence and filtering : การทำงานร่วมกันของตัวแทนความเฉลียวฉลาด หรือตัวที่ดึงข้อมูลที่สำคัญมาใช้งาน

Knowledge-enabling applications : แอปพลิเคชั่นต่างๆที่ใช้ในระบบKM ได้แก่ customized applications, skills directories, videoconferencing, decision support systems,group decision support systems tools

Transport : ชั้นนำส่งข้อมูล จากการปฏิบัติงานจะได้ ประมวลผลความรู้ จะถูกนำส่งไปอีกเครื่องหนึ่ง ผ่านe-mail, Internet/Web site, TCP/IP protocol to manage traffic flow หรือ แสดงออกทางหน้าจอ

Middleware : ซอฟต์แวร์ที่ช่วยทำให้การทำงานของชั้นแอพพลิเคชั่น กับ เครือข่ายสามารถติดต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

The Physical Layer : ชั้นกายภาพจะประกอบไปด้วย แอปพลิเคชั่นรุ่นเก่า เช่น บัญชีเงินเดือน กรุ๊ปแวร์ การแลกเปลี่ยนเอกสาร การทำงานร่วมกัน คลังข้อมูล การล้างข้อมูล data mining

วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2562

บทที่6 การใช้งาน JOOMLA

การใช้งาน JOOMLA เบื้องต้น


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

          Joomla คือ ระบบบริหารจัดการเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมมาก ด้วยความสามารถของระบบที่ถูกจัดเตรียมมาให้ผู้ใช้งานสร้างเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว หน้าจอการทำงานถูกออกแบบให้ใช้งานได้ง่าย และสามารถปรับแต่งระบบได้ตามต้องการ ที่สำคัญเป็นระบบฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งทางทีมผู้พัฒนามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความปลอดภัย และทันต่อเทคโนโลยี
          เมื่อเราติดตั้ง Joomla แล้ว  เราสามารถที่จะจัดการเนื้อหาข้อมูลเว็บไซต์ผ่านหน้าเว็บได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และอัพเดทข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลาที่เราต่อเชื่อมกับอินเตอร์เน็ต  โดยที่ไม่ต้องมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรม เช่น HTML, PHP แต่อย่างใด  เพราะ Joomla! ได้เตรียมหน้า Editor ให้เราพิมพ์ข้อความ จัดรูปแบบ แทรกรูป เหมือนกับการพิมพ์ข้อความในโปแกรม MS Office Word ไว้ให้เราใช้งานได้ง่ายๆ
          Joomla สามารถนำมาใช้ทำเว็บไซต์ได้ตั้งแต่ขนาดเล็ก เช่น เว็บไซต์หรือ Blog ส่วนตัว หรือจะใช้ทำเว็บไซต์ขนาดใหญ่ที่มีกลุ่มผู้ใช้งานจำนวนมากก็ได้ เช่น เว็บใช้งานในองค์กร   หรือจะทำเว็บขายสินค้าออนไลน์ก็ได้ค่ะ (ต้องติดตั้ง Extension “VirtueMart” เพิ่ม)

วิธีการติดตั้ง Joomla!

1. ดาวน์โหลด Joomla จากเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของโปรแกรม https://downloads.joomla.org/th/



2. แยกไฟล์ Joomla Package.zip



3. สร้างฐานข้อมูลโดยเปิด URL http://localhost/phpmyadmin



4. ตั้งค่า Joomla โดยเปิด URL http://localhost/#(Folder Name)



5.สร้างบทความโดย (Content -> Articles -> Add New Article)


  • Status: เผยแพร่บทความหรือเก็บเป็นฉบับร่าง
  • Featured: เลือกว่าบทความที่จะมีในหน้าแรก
  • Access: เลือกผู้ที่สามารถมองเห็นโพสต์เฉพาะนี้(ผู้เข้าชมทั้งหมดหรืออาจจะลงทะเบียนเท่านั้น)
  • Tags: จัดระเบียบโพสต์ด้วยแท็ก
  • Categories: จัดระเบียบโพสต์ด้วยหมวดหมู่

6. สร้างหน้าเว็บไซต์ใหม่

          สิ่งที่คุณสร้างขึ้นใน Joomla จะไม่ปรากฏในเว็บไซต์ของคุณโดยอัตโนมัติ แต่ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการสร้างหน้าเว็บและที่สำคัญควรทำอย่างไรให้ปรากฏในเว็บไซต์ของคุณ
  • สร้างหน้าเว็บ Joomla โดยไปที่ Menus เพื่อไปที่ (Menus->Manage ->Add New Menu)
  • ถ้าต้องการให้หน้าเว็บบางหน้าปรากฏในเมนูใหม่ของคุณ ไป (Menu->“Name of the Menu you’ve just created” ->Add New Menu Item) ทั้งนี้สามารถสร้างรายการได้มากเท่าที่คุณต้องการ รายการใหม่เหล่านี้คือหน้าเว็บไซต์ของคุณ
  • หากต้องการให้หน้าเว็บเหล่านี้ปรากฏในเว็บไซต์ของคุณคุณจะต้องเพิ่มโมดูลลงในเว็บไซต์ของคุณ โมดูลเป็นเครื่องมือ Joomla เฉพาะเพื่อแสดงเนื้อหาบนเว็บไซต์ คุณควรเห็นแท็บที่เรียกว่า Module Assignment ขณะสร้างรายการเมนูสามารถเลือกระหว่างโมดูลที่มีอยู่ได้

7. จะเลือก Template ได้อย่างไร?

          พื้นฐานที่คุณควรให้ความสนใจในขณะที่เลือก ธีม สิ่งแรกคือว่าความชอบของคุณเอง เป็นอย่างไรแล้วพิจารณาดังต่อไปนี้ :
  • Updating of the template : Joomla ปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่อง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ให้บริการเทมเพลตของคุณอัปเดตเทมเพลตบ่อยๆเพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถใช้งานได้กับรุ่นล่าสุดที่เผยแพร่ปรับปรุงความปลอดภัยและเพิ่มคุณสมบัติใหม่ ๆ
  • Documentation : บางครั้งจำเป็นต้องตรวจสอบคุณลักษณะบางอย่างเพื่อเรียนรู้วิธีการทำงานคู่มือผลิตภัณฑ์อื่น ๆ
  • Responsiveness and cross-browser compatibility : หมายความว่าเทมเพลตควรดูดีใน Chrome, Safari, Firefox และสิ่งที่ Microsoft เรียกร้องให้แก้สำหรับเบราว์เซอร์ในปัจจุบัน เช่นเดียวกับ Mobile device (รวมถึงผลิตภัณฑ์ของ Microsoft ซึ่งเหมือนกับ Sasquatch ของโทรศัพท์)
  • Edit-ability : ตรวจสอบว่าคุณสามารถกำหนดค่าเทมเพลตใดได้บ้างแล้วมองหาเทมเพลตที่มีอิสระในการจัดตำแหน่งโมดูล
  • Stock photos included or not : แม้ว่าจะไม่ใช่เรื่องใหญ่แต่ควรหาว่าธีมที่กำลังจะซื้อมาพร้อมกับภาพสต็อกทั้งหมดหรือไม่ก็ตามในการสาธิต

8. จะติดตั้ง Template ได้อย่างไร?


  • ติดตั้งธีมใหม่ของคุณโดยไปที่ (Extensions ->Manage) และคลิก “เรียกดู”
  • อัปโหลดไฟล์ซิปของธีมของคุณ
  • สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจที่ควรทราบก็คือสามารถติดตั้งเทมเพลตได้มากเท่าที่ต้องการจากนั้นจึงสลับไปมาเพื่อดูว่าพวกเขาเปรียบเทียบกันอย่างไร เพียงแค่ไปที่ (Extensions->Templates) และเลือกธีมที่ต้องการจากรายการเพื่อให้เป็นตัวเลือกเริ่มต้นของคุณ

ส่วนประกอบต่างๆภายใน Joomla Administrator

          หลังจาก Login เข้ามาในส่วน administrator แล้ว จะพบส่วนประกอบต่าง ๆ 4 ส่วนดังนี้


1. Menubar คือส่วนที่แสดงชื่อคำสั่งทั้งหมดของโปรแกรม Joomla


2. Infobar คือส่วนที่แสดงข้อมูลรายละเอียดต่อไปนี้ 
          - ชื่อของเว็บไซต์
          - ตำแหน่งปัจจุบัน (Current Location) ใน Admin Section ที่กำลังใช้งานอยู่
          - จำนวนข้อความที่ได้รับจาก Users อื่น ๆ
          - จำนวนผู้เข้าใช้งานโปรแกรม Joomla ในขณะนั้น
          - ชื่อผู้ใช้ที่ Login เข้ามา เช่น admin
3. Toolbar คือเมนูคำสั่งย่อยจะปรากฏหลังจากคลิกเลือกคำสั่งบน Menubar แล้ว (อาจจะแสดง จำนวนปุ่มไม่เท่ากัน เมื่อคลิกเลือกคำสั่งบนmenubar)


4. Workspace คือพื้นที่แสดงการทำงานต่างๆ ซึ่งอยู่ด้านล่าง Menubar, Infobar และ Toolbarความหมายของปุ่มคำสั่งต่างๆ




การจัดการ Section

          Section (หมวดหมู่หลัก) ทำหน้าที่จัดเก็บ Category (หมวดหมู่ย่อย) การเข้าสู่ส่วนการจัดการ Section ,การสร้าง Section ,การลบ Section ,การแก้ไข Section ,การเปิดและซ่อน section

การเข้าสู่ส่วนการจัดการ Section (Section Manager) สามารถทำได้ 2 วิธีดังนี้

วิธีที่ 1 คลิก Menubar แล้วเลือกคำสั่ง Content => Section Manager


วิธีที่ 2 คลิก menubar แล้วเลือกคำสั่ง Home เพื่อไปที่หน้าแรก (ส่วนของ Control Panel)  คลิกปุ่ม Section Manager 


การสร้าง Section

          1. เข้าสู่ส่วนการจัดการ Section (section manager)
          2. กดปุ่ม New จากนั้นจะเข้าสู่ส่วนการกำหนดค่าต่าง ๆ


          3. กำหนดชื่อของ Section ลงใน Title และ Section Name (ใช้ชื่อเดียวกันได้) และกำหนดระดับของผู้ที่ สามารถเข้ามาดูในส่วนของ Access Level ซึ่งประกอบด้วย Public ทุกคนสามารถเปิดดูได้ Registered เฉพาะผู้ที่ผ่านการ Log in เข้าระบบสมาชิกจึงจะสามารถเปิดดูได้ และ Specialสำหรับผู้ที่อยู่กลุ่มพิเศษ(กลุ่มที่แก้ไขข้อมูลได้)เท่านั้นที่เปิดดูได้
          4. เมื่อกำหนดเสร็จเรียบร้อยให้กดปุ่ม Save หรือ Apply

การลบ Section

          1. เข้าสู่ส่วนการจัดการ section (section manager)
          2. เช็คเครื่องหมาย √ ของ Section ที่ต้องการลบ
          3. กดปุ่ม Delete (การลบ Section นั้นภายในต้องไม่มี Category ใด ๆ อยู่)

การแก้ไข Section

          1. เข้าสู่ส่วนการจัดการ section (Section Manager)
          2. เช็คเครื่องหมาย √ ที่กล่องสี่เหลี่ยมหน้าชื่อ Section ที่ต้องการแก้ไข
          3. กดปุ่ม Edit เพื่อเข้าสู่การแก้ไข Section
          4. เมื่อแก้ไขเสร็จเรียบร้อยให้กดปุ่ม Save หรือ Apply


การจัดการ Category

          Category (หมวดหมู่ย่อย) ทำหน้าที่จัดเก็บ Content Items (เนื้อหา ข้อมูลหรือบทความ) การเข้าสู่ส่วนการจัดการ Category  การสร้างCategory  การลบ Category  การแก้ไข Category การเปิดและซ่อน Category  การเข้าสู่ส่วนการจัดการ Category (Category Manager) สามารถทำได้ 2 วิธีดังนี้

          วิธีที่ 1 คลิก Menubar แล้วเลือกคำสั่ง Content => Category Manager


          วิธีที่ 2 คลิก menubar แล้วเลือกคำสั่ง Home เพื่อไปที่หน้าแรก (ส่วนของ Control Panel)  คลิกปุ่ม Category Manager


การสร้าง Category

          1. เข้าสู่ส่วนการจัดการ Category (Category manager)
          2. กดปุ่ม  New จากนั้นจะเข้าสู่ส่วนการกำหนดค่าต่าง ๆ


          3. กำหนดชื่อของ Category ลงใน Category Title และ Category Name (ใช้ชื่อเดียวกันได้)
          4. กำหนด Section ที่จัดเก็บ Category นี้
          5. กำหนดระดับของผู้ที่สามารถเข้ามาดูในส่วนของ Access Level ซึ่งประกอบด้วย Public ทุกคนสามารถเปิดดูได้ Registered เฉพาะผู้ที่ผ่านการ Log in เข้าระบบสมาชิกจึงจะสามารถเปิดดูได้ และ Special สำหรับผู้ที่อยู่กลุ่มพิเศษ(กลุ่มที่แก้ไขข้อมูลได้)เท่านั้นที่เปิดดูได้

 การจัดการ Content Item

          Content Items (เนื้อหา ข้อมูลหรือบทความ) การเข้าสู่ส่วนการจัดการ Content Item  การสร้าง Content Item  การลบ Content Item  การแก้ไข Content Item  การนำ content item แสดงบนหน้าแรกของเว็บไซต์ การเปิดและซ่อน Content Item

การเข้าสู่ส่วนการจัดการ Content Item (Content Items Manager) สามารถทำได้ 2 วิธีดังนี้

          วิธีที่ 1 คลิก Menubar แล้วเลือกคำสั่ง Content => All Content Items


          วิธีที่ 2 คลิก menubar แล้วเลือกคำสั่ง Home เพื่อไปที่หน้าแรก (ส่วนของ Control Panel)  คลิกปุ่ม Content Items Manager



การสร้าง Content Item

          1. เข้าสู่ส่วนการจัดการ Content Item (Content Items manager)
          2. กดปุ่ม New จากนั้นจะเข้าสู่ส่วนการกำหนดค่าต่าง ๆ


          3. กำหนดชื่อของ Content Item ลงใน Title และ Title Alias (ใช้ชื่อเดียวกันได้)
          4. กำหนด section และ Category ที่จัดเก็บ Content Item นี้
          5. พิมพ์และใส่ข้อมูลลงในกรอบ Intro Text และ Main Text
          6. ระหว่างพิมพ์และใส่ข้อมูลสามารถกดปุ่ม เพื่อเปิด pop up แสดง Content Item
          7. เสร็จเรียบร้อยให้กดปุ่ม Save หรือ Apply

การลบ Content Item

          1. เข้าสู่ส่วนการจัดการ Content Item (Content Items manager)
          2. เช็คเครื่องหมาย √ ของ Content Item ที่ต้องการลบ
          3. กดปุ่ม  Delete (การลบ Content Item นั้นภายในต้องไม่มี Content Item ใด ๆ อยู่)

การแก้ไข Content Item

          1. เข้าสู่ส่วนการจัดการ Content Item (Content Items manager)
          2. เช็คเครื่องหมาย √ ที่กล่องสี่เหลี่ยมหน้าชื่อ Content Item ที่ต้องการแก้ไข
          3. กดปุ่ม Edit เพื่อเข้าสู่การแก้ไข Content Item
          4. ระหว่างแก้ไขสามารถกดปุ่ม เพื่อเปิด pop up แสดง content item
          5. เมื่อแก้ไขเสร็จเรียบร้อยให้กดปุ่ม Save หรือ Apply

การนำ Content Item แสดงบนหน้าแรกของเว็บไซต์

          1. เข้าสู่ส่วนการจัดการ content item (content items manager)
          2. คลิกในคอลัมน์ของ Front Page ให้แสดงเครื่องหมาย ของ content item ที่ต้องการแสดงบนหน้าแรก หากไม่ต้องให้คลิกอีกครั้งให้แสดงเครื่องหมาย ผิด

การใช้งาน TinyMCE สำหรับใส่และแก้ไขข้อมูล Content Item

          การใส่และแก้ไขข้อมูลลงใน Content จะมีลักษณะคล้าย ๆ กับโปรแกรมออกแบบเว็บไซต์ทั่วไป เช่น Macromedia Dreaweaver โดยจะมีกรอบที่สามารถใส่ข้อมูลสองส่วนคือ

- ส่วนแรก Intro Text เป็นส่วนที่ Content Item จำเป็นต้องมี อาจจะใส่ข้อมูลทั้งหมดหรือข้อความบางส่วนที่เกริ่นถึงเนื้อหาใน Content Item ทั้งหมด
- ส่วนที่สอง Main Text เป็นส่วนที่แสดงเนื้อหา


ความหมายของปุ่มคำสั่งบน Toolbar


          การจัดการตาราง (Table)

          การแทรกตาราง

        


          2. กำหนดค่าต่าง ๆ ดังนี้ Columns จำนวนของแถวในแนวตั้ง Rows จำนวนของแถวในแนวนอน      Cellpadding ระยะห่างระหว่างช่องCell กับตัวอักษรภายในช่อง Cell Cellspacing  ระยะห่างระหว่างช่อง Cell Alignment กำหนดให้ตารางชิดซ้าย ขวาหรือกึ่งกลาง Width, Height  กำหนดความกว้างและความสูงหน่วยเป็น pixels  (สามารถเปลี่ยนหน่วยเป็น % ได้ โดยเติม % ต่อท้าย) และกดปุ่ม แทรกตาราง




การแทรกและลบ Row หรือ Column
           1. คลิกช่อง Cell
           2. เลือกกดปุ่มคำสั่งบน Toolbar ดังนี้


การรวม ช่อง Cell






การใช้ Media Manager สำหรับการจัดเก็บไฟล์รูปภาพและไฟล์อื่น ๆ

           Media Manager เป็นส่วนที่ดูแลและจัดการไฟล์ที่ Upload เข้ามาเก็บไว้ที่เว็บไซต์ สำหรับไฟล์ที่อนุญาตให้ สามารถ Upload ได้จะมีด้วยกัน 9 ประเภทประกอบด้วย doc, xls, ppt, bmp, gif, jpg, png, swf, pdf Folder ที่จัดเก็บไฟล์ โปรแกรม Joomla ได้กำหนด folder สำหรับการใช้งานมาให้สอง folder ประกอบด้วย
           1. banners เป็น folder สำหรับจัดเก็บไฟล์รูปภาพที่จะถูกนำไปใช้เป็น Banner
           2. stories   เป็น folder รูปภาพที่ถูกใช้กับ MOSImage ซึ่งจะถูกแสดงออกมาในส่วน Tab Images เมื่อมี การแก้ไข Content Item

การเข้าสู่ Media Manager สามารถทำได้ 2 วิธีดังนี้ 

           วิธีที่ 1  คลิก Menubar แล้วเลือกคำสั่ง Site => Media Manager



           วิธีที่ 2 คลิก menubar แล้วเลือกคำสั่ง Home เพื่อไปที่หน้าแรก (ส่วนของ Control Panel)  คลิกปุ่ม Media Managerการย้ายไปยัง Folder อื่น

1. เข้าสู่ Media Manager


การ Upload ไฟล์

           1. เข้าสู่ media manager
           2. ย้ายไปยัง Folder ที่ต้องการเก็บไฟล์
           3. กดปุ่ม Browse เพื่อเลือกไฟล์
           4.กดปุ่ม  Upload

การสร้าง Folder

            1. เข้าสู่ media manager
            2. ย้ายไปยัง folder ที่ต้องการเก็บ Folder ใหม่
            3. พิมพ์ชื่อ Folder ที่ต้องการสร้างในช่อง create directory
            4. กดปุ่ม  Create

 การลบไฟล์

            1. เข้าสู่ media manager
            2. ย้ายไปยัง folder ที่เก็บไฟล์ที่ต้องการลบ
            3. กดปุ่ม  ถังขยะ ตรงไฟล์ที่ต้องการลบ


          ปัจจุบันมีระบบจัดการบทความ หรือ CMS หลายเจ้าดังๆ ที่เป็น Open Source ซึ่งแต่ละเจ้านั้นแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของฟิวเจอร์ต่างๆ คุณสมบัติ ความปลอดภัย ทั้งหมดนี้ Joomla ได้เตรียมให้เราค่อนข้างครบ ทำให้คนที่ไม่รู้โค้ดก็สามารถสร้างเว็บไซต์ของตัวเองด้วย Joomla ได้ง่ายๆ บางเจ้าใช้งานง่ายก็จริง แต่พอเล่นๆดูสักพัก เราจำเป็นต้องติดตั้งปลั๊กอินเสริมต่างๆมากมาย ทำให้คนที่ไม่รู้โค้ดหรือเทคนิค ต้องใช้เวลานานในการศึกษา

5 เหตุผลที่ต้องใช้ Joomla ทำเว็บไซต์

          1. คุณสมบัติในการจัดการเนื้อหาครบถ้วน : Joomla เป็นระบบการจัดการบทความหรือที่เราเรียกกันว่า CMS ซึ่งใช้ในการสร้างเว็บไซต์ในรูปแบบต่างๆ ซึ่ง Joomla มีระบบจัดการบทความที่ยอดเยี่ยม ตั้งแต่ สามารถสร้างบทความ ประเภทของบทความ กำหนดสิทธิ์การเข้าถึงบทความ Options ต่างๆของแต่ละบทความ มีระบบค้นหาที่ครบค้วน  ทำให้เราสามารถจัดการบทความของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพ และที่สำคัญคือมีระบบตั้งค่า SEO เรียบร้อย สามารถใส่พวก Keywords , Description, title ผ่านบทความได้ง่ายๆเลย


          2.ฟังก์ชันและอินเตอร์เฟสได้มาตรฐาน : Joomla ด้วยความที่เป็นระบบ CMS ที่ครบเครื่อง มีฟิวเจอร์ต่างๆมากมาย ทำให้อาจจะต้องใช้เวลาในช่วงแรกๆ ในการศึกษามัน แต่ถ้าเราใช้มันไปในระดับนึง เราจะเห็นได้ว่า Joomla เองได้พยายามใช้ฟังก์ชันต่างๆที่อยู่ในระบบ ให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน ทำให้ง่ายต่อการใช้งาน และส่วนของหลังบ้านหรือ Administrator สังเกตเห็นว่า Joomla ใช้ Bootstrap ในการออกแบบ GUI ซึ่งเป็น CSS Framework ที่ได้รับความนิยามทั่วโลก


          3. กำหนดสิทธิ์การเข้าถึงเนื้อหา : สิ่งที่สำคัญอีกอย่างของ Joomla คือ จูมล่าอนุญาตให้เรากำหนดสิทธิ์การใช้งานบทความแต่ละบทความว่า อยากจะให้ยูเซอร์คนใหนสามารถเข้าถึงบทความนั้นๆได้ ไม่อนุญาตให้ใครบ้าง ถือว่าเป็นฟิวเจอร์ที่น่าสนใจ สำหรับคนที่ต้องการสร้างเว็บไซต์ที่หลากหลาย


          4.ระบบจัดการธีมเพลตที่ครบเครื่อง : บางธีมเพลต(Template) อนุญาตให้เราใช้ธีมแค่ธีมเดียวต่อหนึ่งเว็บ อย่างไรก็ตามจูมล่า(Joomla)อนุญาตให้เรา ใช้ธีมเพลตแต่ละหน้าของเว็บไซต์ไม่เหมือนกัน เช่น ธีม A ใช้กับเพจหน้า A ธีม B ใช้กับเพจหน้า B เป็นต้น จะเห็นได้ว่า จูมล่าได้ออกแบบระบบธีมเพลตให้ ยืดหยุ่น ต่อการใช้งานบนเว็บไซต์


          5. รองรับภาษาสากล :เหตุผลที่ใหญ่ที่สุดว่าทำไมจูมล่า(Joomla) เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางทั่วโลก เพราะจูมล่าได้รองรับภาษาต่างๆ ระดับสากล จูมลา(Joomla)สามารถ ติดตั้ง และกำหนดการตั้งค่าภาษาต่างๆได้โดยไม่ต้องติดตั้งปลั๊กอินใดๆเพิ่มเลย ทำให้เราสามารถสร้างเว็บไซต์ 2 ภาษาหรือ หลายภาษาได้อย่างง่ายดาย

ข้อดีของ Joomla!

          - เป็นเครื่องมือที่เปิดใช้งานได้ ฟรี
          - ขั้นตอนการติดตั้งง่าย
          - สามารถควบคุมอินเตอร์เฟสด้วยเทมเพลตเพื่อแสดงเนื้อหาของเว็บไซต์
          - จัดการเนื้อหาได้ง่าย
          - สนับสนุนการทำงานของคนจำนวนมากในเวลาเดียวกัน
          - มีความเสถียรและอัพเดตสม่ำเสมอ
          - มีสังคมช่วยเหลือออนไลน์มากมาย
          - มีนักพัฒนาที่เป็นภาษาไทย (https://www.joomlacorner.com)

ข้อเสียของ Joomla!

          - ผู้เริ่มต้นในการใช้งานอาจไม่เข้าใจของส่วนประกอบ ,โมดูล , และปลั๊กอิน
          - ส่วนประกอบบางส่วนไม่ครอบคลุมความต้องการ ทำให้แก้ปัญหาค่อนข้างยากลำบาก
          - ผู้เริ่มต้นในการใช้งานคิดว่าเทมเพลตเป็นเรื่องยาก

แหล่งที่มา
https://www.teeneeweb.com/5-reasons-choose-joomla-website/
http://www.agri.cmu.ac.th/2017/files/Download/49080109.pdf
https://medium.com/@kwinthanpisit/joomla-คืออะไร-4e6fc2eda137